ขอชื่นชมยินดีกับผู้เผยแพร่ผลงานวิจัย สถานการณ์การกระทําความรุนแรงต่อผู้สูงอายุตามมุมมองของผู้สูงอายุใน หมู่บ้านแห่งหนึ่ง จังหวัดขอนแก่น
ขอชื่นชมยินดีกับผู้เผยแพร่ผลงานวิจัย
สถานการณ์การกระทําความรุนแรงต่อผู้สูงอายุตามมุมมองของผู้สูงอายุใน หมู่บ้านแห่งหนึ่ง จังหวัดขอนแก่น
The Situation of Elderly Abuse from the Perspective of Older Adults in a village of Khon Kaen Province
9 0
ผู้วิจัย ภัคษิมณฐ์ พระปุณยนนท์ เปรมจิต ชาติรัมย์ฐิติกุล, ปฏิมาภรณ์วงศ์ภูธร, กัลยา ปังประเสริฐ Abstract
การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การกระทําความรุนแรงต่อผู้สูงอายุตามมุมมอง ผู้สูงอายุ ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในตําบลศิลา อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จํานวน 210 ราย สุ่มตัวอย่างจํานวน 1 พื้นที่ โดยใช้วิธีสุ่มอย่าง ง่ายด้วยการจับสลาก และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จากประชากรที่มี คุณสมบัติตามที่กําหนดไว้เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย ได้แก่: 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุ2) แบบ ประเมินสถานการณ์การกระทําความรุนแรงต่อผู้สูงอายุตาม มุมมองของผู้สูงอายุตรวจสอบความตรงของ เครื่องมือได้ค่าดรรชนีความตรงตามเนื้อหาทั้งฉบับ (S-CVI ) เท่ากับ 0.95 หา ความเชื่อมั่นของเครื่องมือ โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติเชิง พรรณนา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุเพศหญิง (60.5%) อายุเฉลี่ย 73 ปี สถานภาพ สมรสมาก ที่สุด (68.1%) จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (77.1%) ส่วนใหญ่ไม่ได้ประกอบอาชีพ (34.3%) รายได้ส่วนใหญ่มาจาก หน่วยงานของรัฐ (83.33%) ครอบครัวส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขยาย (61.9%) และ ผู้สูงอายุมีบทบาทมากกว่า 2 บทบาท (70.95%) ด้านการกระทําความรุนแรงต่อผู้สูงอายุตามมุมมองของ ผู้สูงอายุพบว่า ส่วนใหญ่เคยถูกกระทําความรุนแรงเป็น บางครั้ง (59 %) โดยพบการกระทําความรุนแรง ทางด้านอารมณ์และด้านจิตใจมากที่สุด (51.9%) เช่น การโต้เถียง ดุด่า ก้าวร้าวหรือตะคอก เป็นต้น รองลงมา เป็นการหาประโยชน์จากผู้สูงอายุและการเอาเปรียบทางกฎหมาย (23.3%) เช่น ใช้ สิ่งของของผู้สูงอายุโดย ไม่ได้รับอนุญาต นําเงินของผู้สูงอายุไปโดยไม่ได้รับอนุญาต การยืมเงินแล้วไม่คืน เป็นต้น และด้านการ ละเลย ทอดทิ้งหรือการละเว้นการกระทํากับผู้สูงอายุ พบจํานวนน้อยที่สุด (5.7%) เช่น การไม่จัดเตรียมสิ่งจําเป็น พื้นฐานใน การดูแล การไม่สนใจดูแลกิจวัตรประจําวันของผู้สูงอายุ เป็นต้น ส่วนการกระทําความรุนแรงด้าน ร่างกายและการคุกคามทางเพศ ไม่พบการกระทําความรุนแรง
ฐานข้อมูลที่ตีพิมพ์ วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2565