ขอชื่นชมยินดีกับผู้เผยแพร่ผลงานวิจัย นันธินีย์ วังนันท์, จิรวรรณ ชัยวิศิษฎ์, มณฑิรา ชนะกาญจน์
ขอชื่นชมยินดีกับผู้เผยแพร่ผลงานวิจัย
ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาล ในสถานการณ์การเรียนการสอนแบบออนไลน์
Factors Associated with Depression of Nursing Students
in the Online Teaching Situations Scholars
Abstract
นันธินีย์ วังนันท์, จิรวรรณ ชัยวิศิษฎ์, มณฑิรา ชนะกาญจน์
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาลในสถานการณ์การเรียนการสอน แบบออนไลน์ ของสถาบันการศึกษาพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่นชั้นปีที่ 1-4 จานวน 226 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ การสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสอบถาม แบ่งแบบสอบถามออกเป็น 4 ส่วนได้แก่ 1) แบบสอบถาม เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับการเห็นคุณค่าในตนเอง 3) แบบวัดความเครียดของสวนปรุง 20 ข้อ และ 4) แบบคัด กรองภาวะซึมเศร้า 90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและค่าไคสแควร์
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาพยาบาลมีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 15.04 โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีภาวะซึมเศร้ามากที่สุดคือ ร้อยละ 24.60 รองลงมาคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 2 โดยพบร้อยละ 15.50, 11.90 และ 9.10 ตามลาดับ นักศึกษาพยาบาลมี ค่าเฉลี่ยการเห็นคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับสูง (X= 3.49, SD= 0.52) โดยพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ยของคะแนนการเห็น คุณค่าในตนเองสูงมากที่สุด (X= 3.58, SD= 0.54) รองลงมาคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4, 3 และ 2 ตามลําดับ (X= 3.48, SD= 0.50; X= 3.44, SD= 0.51 และ X= 3.46, SD= 0.52) นักศึกษาพยาบาลมีความเครียดอยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด (ร้อยละ 49.12) รองลงมาความเครียดอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 28.32) โดยพบว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีความเครียดอยู่ในระดับสูงมากที่สุด (ร้อยละ 47.30) นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด (ร้อยละ 58.00) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีความเครียดอยู่ในระดับ ปานกลางมากที่สุด (ร้อยละ 55.90) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด (ร้อยละ 52.10) ผลการวิเคราะห์ ความสัมพันธ์พบว่า การเห็นคุณค่าในตนเองด้านการมีความสําคัญมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสําคัญ (r =.218, p=.001 ) ความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสําคัญ (r=.419, p<.001) และวิเคราะห์ ความเครียดระดับสูงและระดับรุนแรงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้า ( r = 163, p=015 ; r=.321, p =0.01)
จากงานวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเอง และพัฒนาทักษะการจัดการความเครียด เพื่อช่วยส่งเสริมเรื่องการปรับตัวและการป้องกันภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาลในสถานการณ์การเรียนการสอนออนไลน์
ฐานข้อมูลที่ตีพิมพ์ วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2564 (TCI 2)