ขอชื่นชมยินดีกับผู้เผยแพร่ผลงานวิจัย อ.สมฤกษ์ กาบกลาง

ขอชื่นชมยินดีกับผู้เผยแพร่ผลงานวิจัย

การรับรู้ผลกระทบต่อสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ของประชาชน ใน

เขตเทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

Perception in Health Impacts and Self-Protection Behaviors from Particulates Matters less than 2.5 Micron; PM 2.5

Among People in Khon Kaen Municipality, Muang District, Khon Kaen. Province

อ.สมฤกษ์ กาบกลาง

นันธินีย์ วังนันท์

ผู้ร่วมวิจัย

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน

การรับรู้ผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ตามกรอบแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ

(Health Belief Model) และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน กลุ่มตัวอย่างคือประชาชน

ในเทศบาลนครขอนแก่น ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้

สถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 63.2) อายุระหว่าง 46 – 60 ปี (ร้อยละ 28.1) โดย

อาชีพรับจ้างทั่วไปมากที่สุด (ร้อยละ 39.9) มากกว่าครึ่งจบการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 52.2) และมีรายได้เฉลี่ยต่อ

เดือนอยู่ในระดับต่ากว่า 5,000 บาท/เดือน (ร้อยละ 52.2) และเป็นประชนชนในกลุ่มเสี่ยงสูงที่ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ ได้แก่

ผู้ที่มีโรคประจําตัว (ร้อยละ 25.8) ผู้สูงอายุ (ร้อยละ 18.4) และหญิงตั้งครรภ์ (ร้อยละ 3.9) กลุ่มตัวอย่างได้รับผลกระทบต่อ

สุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็กร้อยละ 49.1 มีการรับรู้ผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 57.9) โดยกลุ่ม

ตัวอย่างมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่ออันตรายจากฝุ่นละอองขนาดเล็กอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 63.1) การรับรู้ความรุนแรงของอันตราย

จากฝุ่นละอองขนาดเล็กอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 53.5) การรับรู้ประโยชน์การป้องกันตนเองจากฝุ่นละอองขนาดเล็กอยู่ใน

ระดับปานกลาง (ร้อยละ 42.5) การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันตนเองจากฝุ่นละอองขนาดเล็กอยู่ในระดับน้อย (ร้อยละ 53.9)

และการรับรู้การคุกคามจากฝุ่นละอองขนาดเล็กอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 67.5) นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการ

ป้องกันตนเองจากฝุ่นละอองขนาดเล็กอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 37.7)

ข้อเสนอแนะจากการศึกษาในครั้งนี้คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องควรเฝ้าระวังและประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่าง

และควรรณรงค์ให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็กและวิธีการป้องกันตนเองจากฝุ่นละอองขนาดเล็กให้มาก

ฐานข้อมูลที่ตีพิมพ์ วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2564 (TCI 2)